หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แล้ว ถัดจากนั้น ๕ วัน คือในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ทรงแสดงธรรมชื่ออนัตตลักขณสูตรโปรดปัญจวัคคีย์อีกครั้ง เมื่อแสดงธรรมจบ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
บทสวดมนต์ อนัตตลักขณสูตร
พิจารณาธรรมโดยความเป็นอนัตตา
เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย. ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ.
รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา. รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา ตัส๎มา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ.
เวทะนา อะนัตตา. เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา ตัส๎มา เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ เวทะนายะ เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ.
สัญญา อะนัตตา. สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา ตัส๎มา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ.
สังขารา อะนัตตา. สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา ตัส๎มา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ.
วิญญาณัง อะนัตตา. วิญญาณัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา ตัส๎มา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ.
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ. อะนิจจัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ. อะนิจจา ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ. อะนิจจา ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ. อะนิจจา ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.
ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ. อะนิจจัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.
ตัส๎มาติหะ ภิกขะเว ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วา ปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง รูปัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.
ยา กาจิ เวทะนา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา เวทะนา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.
ยา กาจิ สัญญา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา สัญญา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.
เย เกจิ สังขารา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา เย ทูเร สันติเก วา สัพเพ สังขารา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.
ยังกิญจิ วิญญาณัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วา ปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต๎วา อะริยะสาวะโก รูปัส๎มิงปิ นิพพินทะติ เวทะนายะปิ นิพพินทะติ สัญญายะปิ นิพพินทะติ สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ วิญญาณัส๎มิงปิ นิพพินทะติ. นิพพินทัง วิรัชชะติ. วิราคา วิมุจจะติ. วิมุตตัส๎มิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ. ขีณา ชาติ วุสิตัง พ๎รัห๎มะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ. อิทะมะโวจะ ภะคะวา.
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง.อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ.
ใจความสำคัญ : เป็นบทพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒ ที่ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา เป็นธรรมที่ลึกซึ้งควรค่าแก่การศึกษาทำความเข้าใจ หากเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก็เป็นทางเข้าถึงความพ้นทุกข์
ประวัติ : หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แล้ว ถัดจากนั้น ๕ วัน คือในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ทรงแสดงธรรมชื่ออนัตตลักขณสูตรโปรดปัญจวัคคีย์อีกครั้ง เมื่อแสดงธรรมจบ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๘๒-๘๕ ข้อที่ ๑๒๗-๑๓๐
ประยุกต์ใช้ : อนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าทรงมุ่งสอนให้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นความจริงที่มีอยู่เป็นอยู่ แต่คนทั่วไปไม่รู้ไม่เห็น อนัตตา โดยความหมายคือ ไม่ใช่ตัวตน, ไม่เป็นไปในอำนาจ หรือไม่อาจสั่งการให้เป็นไปอย่างที่ต้องการได้ ความจริงของขันธ์ ๕ เป็นอย่างหนึ่ง แต่คนทั้งหลายอยากให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อความจริงไม่เป็นดังที่เราต้องการจึงทำให้เราเป็นทุกข์ รูปร่างกายมีความแก่ มีความเจ็บไข้ มีความเสื่อมโทรม เป็นธรรมดา แต่เราต้องการให้มันไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่เสื่อมโทรม พอมันแก่มันเจ็บมันเสื่อมโทรมจึงเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะไม่ยอมรับความจริง ทุกข์เพราะไม่รู้อนัตตา ถ้าเรารู้จักอนัตตา ยอมรับอนัตตาได้ ใจเราก็เป็นอิสระไม่ทุกข์
ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์ น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ภาษาไทย) บรรณาธิการแห่งสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์