คำถวายดอกไม้ธูปเทียนวันวิสาขบูชา

คำถวายดอกไม้ธูปเทียนวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา หรือวันสำคัญสากลของโลก ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

คำถวายดอกไม้ธูปเทียนวันวิสาขบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา, สวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ฯ อิทัง โข ปะนะ ปฏิมาฆะรัง ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะตัง ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง (ถ้าวันอัฏฐมี เปลี่ยนข้อความ ที่ขีดเส้นใต้เป็น เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต สะรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง) ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิสักกาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ปะฏิมาฆะรัง ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา, สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน, อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ


คำแปล


เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดว่าเป็น ที่พึ่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย และเราทั้งหลายชอบซึ่งธรรม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล ได้อุบัติแล้วในหมู่มนุษย์ชาวอริยกะ ในมัชฌิมชนบท, พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เป็นโคดมโดยพระโคตร, เป็นศากยบุตร เสด็จออกบรรพชาแล้วแต่ศากยสกุล เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์โลก ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีแห่งบุรุษควรฝึกได้ ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น ผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้มีโชค โดยไม่ต้องสงสัยแล อนึ่ง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเองไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน และพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วแล เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็น ผู้ปฏิบัติเป็นธรรม,
เป็นผู้ปฏิบัติสมควร, นี้คือคู่แห่งบุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด, นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี (ประนมมือไหว้) เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า สถานแห่งพระปฏิมานี้แล นักปราชญ์ได้อุทิศเฉพาะ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สร้างไว้แล้วเพียงเพื่อระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยทรรศนะแล้ว ได้ความเสื่อมใสและสังเวช บัดนี้ เราทั้งหลายมาถึงกาลวิสาขปุรณมี เป็นที่รู้กันว่า กาลเป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จปรินิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น (ถ้าวันอัฏฐมี เปลี่ยนข้อความที่ขีดเส้นใต้ เป็นกาลที่ครบ ๘ เบื้องหน้าแต่ วันวิสาขปุรณมีเป็นที่รู้กันว่า กาลเป็นที่ถวายพระเพลิงพระสรีระ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) จึงมาประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ถือสักการะมีประทีปด้ามและธูปเป็นต้นเหล่านี้ ทำกายของตนให้เป็นดัง ภาชนะรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณตามเป็นจริงทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บูชาด้วยสักการะอันถือไว้แล้วอย่างไร จักทำประทักษิณ สิ้นวาระสามรอบ ซึ่งสถานแห่งพระปฏิมานี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานนานมาแล้ว ยังปรากฏอยู่ด้วยพระคุณสมบัติอันข้าพเจ้า ทั้งหลาย จะพึงรู้โดยความเป็นอตีตารมณ์ จงทรงรับซึ่งเครื่องสักการะ อันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ